คู่มือสแกนหุ้นสำหรับผู้เริ่มต้น ตอนที่ 2 กรองหุ้นง่ายที่สุดด้วย P/E และ P/BV (PART 1)
ตอนที่ 2 กรองหุ้นง่ายที่สุดด้วย P/E และ P/BV (PART 1)
P/E กับ P/BV เป็นตัวเลขสองตัวที่นักลงทุนมือใหม่จะคุ้นเคยกับมันเป็นตัวแรกๆ
อธิบายแบบสั้นๆ P/E และ P/BV เป็นเครื่องมือวัดราคาหุ้นถูก/แพงแบบง่ายที่สุด โดยเอาราคาหุ้นไปเทียบกับกำไรของบริษัท หรือเอาราคาหุ้นไปเทียบกับมูลค่าทางบัญชีของบริษัท
สมมติคุณอยากจะซื้อหุ้นบริษัทซักบริษัทนึง คุณยินดีจะจ่ายเงินกี่บาท..? ถ้าเทียบกับกำไรที่บริษัททำได้..? เช่น ถ้าบริษัท A กำไรปีละ 1 ล้านบาท คุณอยากจะเป็นเจ้าของบริษัทนี้คุณจะยอมจ่ายเงินกี่บาท..? ถ้าคุณยอมจ่ายเงิน 20 ล้านบาท นั่นหมายถึงบริษัทนี้มี P/E = 20 เท่า
หรือพูดอีกแง่ คือคุณยอมจ่ายเงินซื้อบริษัทในราคาที่แพงกว่ากำไรที่มันทำได้ 20 เท่านั่นเอง
ดังนั้น P/E ยิ่งสูง คนมักจะตีความว่าหุ้นนั้นแพง (เมื่อเทียบกับกำไรที่ทำได้)
ส่วน P/BV คล้ายๆ P/E แต่เปลี่ยนคำถามคือ ถ้าคุณอยากจะซื้อหุ้นบริษัทซักบริษัทนึง คุณยินดีจะจ่ายเงินกี่บาท..? ถ้าเทียบกับมูลค่าทางบัญชี (Book Value) ของบริษัท ณ ปัจจุบัน..? เช่นถ้าบริษัท A มูลค่าทางบัญชี 10 ล้านบาท คุณอยากจะเป็นเจ้าของบริษัทนี้คุณจะยอมจ่ายเงินกี่บาท..? ถ้าคุณยอมจ่ายเงิน 20 ล้านบาท นั่นหมายถึงบริษัทนี้มี P/BV = 2 เท่า
หรือพูดอีกแง่ คือคุณยอมจ่ายเงินซื้อบริษัทในราคาที่แพงกว่ามูลค่าของมัน 2 เท่านั่นเอง
ดังนั้น P/BV ยิ่งสูง คนมักจะตีความว่าหุ้นนั้นแพง (เมื่อเทียบกับมูลค่าของบริษัท)
ในบทนี้ผมจะสอนใช้สูตรสแกนสำเร็จรูปในหมวด Valuation โดยเน้นที่ P/E ก่อน ทีมงาน Market Anyware สร้างเอาไว้ให้พร้อมใช้ครับ
ไปที่หน้า
เลือก 5-yr P/E Less Than 10 สูตรนี้เป็นสูตรการหาหุ้นที่มี P/E ต่ำกว่า 10 ติดต่อกัน 5 ปีที่ผ่านมา
จะเห็นรายละเอียดของสูตรแสดงที่หน้าจอตามภาพครับ
– ความหมายของสูตร –
P/E Hist. เงื่อนไขนี้คือการกรองหุ้นตาม P/E ย้อนหลัง การกรอก Min 1 Max 10 และเลือกระยะเวลา 5 ปีย้อนหลัง หมายถึงเราจะคัดเฉพาะหุ้นที่มี P/E ในช่วง 1-10 ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น
ปัจจุบันคือปี 2015 ถ้าคุณไม่เลือก “รวมปีปัจจุบัน” นั่นหมายถึงคุณจะเลือก P/E ของปี 2010-2014 แต่ถ้าคุณเลือก “รวมปีปัจจุบัน” นั่นหมายถึงคุณจะเลือก P/E ของปี 2011-2015 ครับ
**หมายเหตุ** ถ้าปีปัจจุบันนั้นยังไม่ครบ 4 ไตรมาส P/E ของปีปัจจุบันจะคำนวนด้วยการนำ P/E 4 ไตรมาสย้อนหลังล่าสุดมาคำนวนครับ
============================================
ทำไมต้อง 5 ปี..?
การดู P/E ปีปัจจุบันปีเดียวนั้นเป็นวิธีการที่ผิดพลาดมากที่สุดสำหรับนักลงทุนมือใหม่ ผมยกตัวอย่างหุ้นการบินไทย (THAI) เลข P/E ไตรมาสล่าสุดของ THAI อยู่ที่ประมาณ 4 เท่า..!! ถูกมากๆ..!! คุณสามารถซื้อหุ้นการบินไทยและคืนทุนได้ในเวลาแค่ 4 ปี..!!
ความจริงแล้วการบินไทยขาดทุนแบบไตรมาสเว้นไตรมาสเลยครับ ในช่วงที่ขาดทุน P/E ของหุ้นจะเป็น 0 ดังนั้นแทนที่คุณจะดู P/E แค่ปีเดียว คุณควรดูประวัติ P/E ย้อนหลังกลับไปซักหน่อย ผมคิดว่า 3-5 ปีกำลังดีที่จะพอมองเห็นแนวโน้มความถูก/แพง
============================================
Avg EPS Growth เงื่อนไขนี้คือการกรองหุ้นตามค่าเฉลี่ยการเติบโตของกำไรต่อหุ้น (Earnings per Share: EPS)
============================================
ทำไมต้องมีเงื่อนไขนี้ด้วย ไหนบอกว่าเราจะกรองหุ้นจาก P/E ไง..?
คืองี้ครับ.. หุ้นที่ P/E ต่ำๆ ไม่ได้หมายความว่าหุ้นนั้นดีเสมอไป ในบางธุรกิจที่การเติบโตของกำไรจำกัด คือบริษัทไปแบบเรื่อยๆ ไม่ค่อยมีแนวโน้มว่าจะเติบโต นักลงทุนมักจะไม่ค่อยสนใจ และไม่ค่อยซื้อกัน ดังนั้น P/E จึงค่อนข้างต่ำแต่ราคาหุ้นกลับไม่ยอมไปไหน
คุณจะดูแต่ P/E อย่างเดียวไม่ได้ คุณจำเป็นจะต้องดูแนวโน้มการเติบโตของกำไรด้วย ซึ่ง Avg EPS Growth จะมาช่วยคัดกรองตรงนี้ครับ
============================================
เราเพิ่มเงื่อนไขว่า กำไรต่อหุ้นจะต้องเติบโตเฉลี่ย 10% ในรอบ 3 ปีล่าสุด โดยไม่เลือก “รวมปีปัจจุบัน” (สาเหตุที่เราไม่นับปีปัจจุบัน เพราะในปีปัจจุบันนั้นงบการเงินอาจจะยังออกมาไม่ครบ 4 ไตรมาส ทำให้การคำนวนกำไรต่ำกว่าปีก่อนๆ ซึ่งมีผลลัพธ์ที่ผิดเพี้ยนไปได้)
ลองกด แล้วไปดูผลลัพธ์ของหุ้นซักตัวครับ
เลือกหุ้นซักตัวนึง (ในตัวอย่างผมเลือก CITY)
กด Fund.. เพื่อดูข้อมูลปัจจัยพื้นฐาน
กดไปที่ เพื่อดู P/E
เส้นสีส้ม คือประวัติ P/E ย้อนหลังของ CITY สังเกตมั้ยครับว่าใน 5 ปีล่าสุด (คือปี 2011-2015)
ไม่มีปีไหนเลยที่ P/E เกิน 10
เลื่อนหน้าจอลงมาดู EPS ครับ เราจะเห็นว่ากราฟแท่งเขียว (EPS) ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมามีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ยมากกว่า 10% (คือบางปีอาจจะโตลดลงบ้าง เช่นปี 2013 โตลดลงจากปี 2012 แต่ถ้าเอาการเติบโต 3 ปีมาเฉลี่ยแล้ว ก็ยังโตสูงกว่า 10% อยู่ครับ นี่คือความหมายของ Average EPS Growth)
นี่คือการคัดหุ้นตาม Valuation แบบง่ายๆ ด้วย P/E เหมาะกับมือใหม่ที่กำลังเริ่มอยากจะลงทุนหุ้นแบบเน้นปัจจัยพื้นฐาน แต่สูตรนี้ยังมีจุดอ่อนอยู่บ้าง คือหุ้นบางตัว P/E สูงกว่า 10 เท่า แต่กลับเป็นหุ้นที่น่าสนใจกว่าหุ้นในหมวดนี้ก็มี..!!
ถ้าอยากรู้ว่าทำไม รอติดตามตอนที่ 2 ครับ
หมายเหตุ* หมวด Valuation ในเมนู Scanner สำหรับผู้ซื้อแพคเกจ Scan Gold เท่านั้น
