กรองหุ้นพื้นฐานดี [ตอนที่ 2] ทำไมผมชอบดู EPS มากกว่า Net Profit
ในตอนที่แล้วผมอธิบายวิธีการหาหุ้นพื้นฐานดีด้วย Net Profit Growth ไปแล้ว แต่ในตอนนี้ผมจะบอกว่า ทำไมผมถึงไม่ใช้ Net Profit Growth แต่ใช้ EPS แทน (แต่ที่ต้องสอน Net Profit Growth ก็เพราะมันเป็นพื้นฐานที่คุณควรจะรู้ก่อนรู้จัก EPS)
EPS (Earnings per Share) คืออะไร..?
ผมยกตัวอย่างง่ายๆ แบบนี้
สมมติคุณกับเพื่อนอีก 3 คนร่วมลงทุนทำร้านกาแฟร้านหนึ่งใช้เงินลงทุน 100 บาท
ร้านกาแฟมีหุ้น 100 หุ้น หุ้นละ 1 บาท คุณและเพื่อนๆ จะซื้อหุ้นคนละ 25 หุ้น ในราคาหุ้นละ 1 บาท
ในปี 2016 ร้านกาแฟกำไร 30 บาท << Net Profit
คิดเป็นกำไรต่อหุ้นคือ 30 สตางค์ << EPS คำนวนจากกำไรหารด้วยจำนวนหุ้น 30/100
คุณอาจจะคิดว่า ถ้า Net Profit เพิ่มขึ้น EPS ก็ควรจะเพิ่มตามสิ จริงไหมครับ ดังนั้นค่าสองค่านี้ไม่น่าจะให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน
คำตอบคือ ไม่ใช่..!!
EPS จะโตตาม Net Profit มีเงื่อนไขว่าจำนวนหุ้นจะต้องเท่าเดิมครับ..!!
แต่บริษัทในตลาดหลักทรัพย์หลายบริษัทมันไม่เป็นอย่างนั้นน่ะสิ บางบริษัทเพิ่มทุน (เพิ่มหุ้นเข้าไป ทำให้ผู้ถือหุ้นเดิมมีสัดส่วนลดลง), ออกวอแรนท์ (สุดท้ายอาจโดนแปลงสภาพกลายเป็นหุ้นเพิ่มเข้ามา) ฯลฯ
พอเป็นแบบนั้น EPS ส่วนใหญ่จึงโตช้ากว่า Net Profit เพราะตอนที่กำไรเพิ่มขึ้น จำนวนหุ้นดันเพิ่มเข้าไปด้วย
บางคนยังงง ผมยกตัวอย่างเพิ่มให้ครับ
ร้านกาแฟร้านเดิม ปี 2017 หุ้นส่วนทุกคนลงความเห็นกันว่า อยากจะเปิดร้านกาแฟเพิ่มอีก 1 ร้าน ต้องใช้เงินลงทุนอีก 60 บาท เพื่อเพิ่มทุน จะมีหุ้นในร้านเพิ่มอีก 60 หุ้นรวมของเดิมเป็น 160 หุ้น
คุณเองเงินไม่พอ จึงขอผ่านไม่ควักเงินเพิ่ม คุณจะมีหุ้นเท่าเดิมคือ 25 หุ้น ในขณะที่เพื่อนๆ ของคุณอีก 3 คนลงเงินคนละ 20 บาท เพิ่มทุน ทำให้สัดส่วนหุ้นเปลี่ยนไป
สังเกตมั้ยครับ หุ้นคุณเท่าเดิมเลย 25 หุ้น แต่สัดส่วนของหุ้นลดลงไป จาก 25% เหลือแค่ 15.6% อันนี้เรียกว่า หุ้นเราเจือจาง (dilute ลง)
ในปี 2017 ร้านกาแฟกำไร 40 บาท << Net Profit
คิดเป็นกำไรต่อหุ้นคือ 25 สตางค์ << EPS คำนวนจากกำไรหารด้วยจำนวนหุ้น 40/160
สังเกตมั้ยครับ ด้วยตัวอย่างนี้ Net Profit เพิ่มจาก 30 บาทเป็น 40 บาท หรือเพิ่มขึ้นตั้ง 33%
แต่ EPS หรือกำไรต่อหุ้นกลับลดลงจาก 30 สตางค์เหลือแค่ 25 สตางค์
แน่นอนว่ากำไรส่วนของคุณมันก็ต้องลดลงเป็นธรรมดา เพราะปี 2017 คุณดันถือหุ้นลดลงเหลือแค่ 15.6%
Net Profit เพิ่ม แต่ EPS ลด สาเหตุมาจากว่า ร้านกาแฟดันเติมเงินเข้าไป (เพิ่มทุน) มากกว่ากำไรที่ผลิตเพิ่มออกมา
หลายๆ ธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์เป็นแบบนี้ครับ เพิ่มทุนอย่างหนัก แม้กำไรจะเติบโตแต่ถ้าเทียบกับทุนที่เพิ่มเข้าไปแล้ว กำไรต่อหุ้นลดลง อันนี้ไม่ค่อยดี
ดังนั้นนี่เป็นเหตุผลที่ผมไม่ชอบใช้ Net Profit Growth เพราะผมไม่รู้เลยว่าบริษัทที่กำไรโตนั้น เพิ่มทุนอย่างหนัก จนหุ้นของผมมัน dilute ไปหมดหรือเปล่า
เอาล่ะครับ น่าจะเข้าใจ EPS กันพอหอมปากหอมคอละ ผมจะมาสอนวิธีการหาหุ้นที่ EPS เติบโตต่อเนื่องกัน วิธีการเหมือนกับ Net Profit เลยครับ (ใครยังไม่เคยอ่านเรื่อง Net Profit Growth กลับไปอ่านตอนที่ 1 ได้ คลิกที่นี่)
เข้าไปที่
เลือกสูตร
ผลลัพธ์เราจะได้หุ้นที่ EPS เฉลี่ยโตต่อเนื่องยาวนาน 10 ปี โดยที่ไม่มีปีไหนเลยที่ EPS ตกรุนแรง ลองกดผลลัพธ์ดูครับ ครับ ตั้งสูตรแบบเดียวกันกับที่เคยตั้งกับ Net Profit Growth ผมไม่อธิบายซ้ำนะครับ มีหุ้น 6 ตัวที่ตรงกับเงื่อนไขนี้ (แสดงผล ณ วันที่ 12 มกราคม 2559 เวลา 16:00 น.)
ลองเลือกหุ้นซักตัวแล้วไปดู EPS กันครับ ลอง PB ก็ได้ (เลือกหุ้น PB จากนั้นกดไปที่
จะเห็นได้ว่า EPS ของ PB โตต่อเนื่อง (แท่งเขียว)
พอเข้าใจแล้วใช่ไหมครับ ว่า EPS Growth มันน่าสนใจกว่า Net Profit Growth ยังไง
พบกันใหม่ตอนที่ 3 ครับ การหาหุ้นพื้นฐานดี ที่ราคาตกหนักจนน่าเข้าซื้อ
